โยเกิร์ต อาหารสุขภาพ

คุณประโยชน์จากโยเกิร์ต

  1. โยเกิร์ตย่อยง่าย เพราะน้ำตาลแลคโตสเป็นตัวหลักที่ทำให้เกิดการแพ้นมหรือท้องเสียถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลคติกที่ย่อยง่าย นอกจากนนี้แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังมีเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีนนม เคซีน ซี่งเป็นโปรตีนย่อยยาก ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น ลดปัญหาภูมิแพ้ต่อน้ำตาลแลคโตสและ โปรตีนเคซีน
  2. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยยับยั้งจุลชีพที่ไม่เป็นมิตรในลำไส้ กรดแลคติคจะช่วยต่อต้านจุลชีพที่อาจให้โทษต่อร่างกายเช่น เชื้อซัลโมเนลา (Salmonella typhidie) อี โคไล ( E. Coli) โคลินแบคทีเรีย( Corynebacteria diphtheriae) ทำให้เชื้อเหล่านี้ไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ เราควรจะรับประทานโยเกิร์ตอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีกลุ่มแบคทีเรียที่ดีอาศัยอยู่ภายในลำไส้
  3. เป็นแหล่งวิตามิน บี โดยเฉพาะวิตามิน บี1(ไรโบฟลาวิน) แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังช่วยสังเคราะห์วิตามิน บีและวิตามิน เค ในลำไส้
  4. ช่วยรักษาโรค ท้องเสีย ท้องเดิน และแผลในกระเพาะ จากการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเด็กหายจากอาการท้องเสียเร็วขึ้น หลังจากได้รับประทานโยเกิร์ต
  5. ช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น กรดแลคติคในโยเกิร์ตช่วยทำให้การย่อยแคลเซียมในนมดีขึ้นและทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมง่ายขึ้น
  6. เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ในโยเกิร์ตจะมีโปรตีนมากกว่าในนม 20% และยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถดูดซึมไปใด้ด
  7. ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ แลคโตบาซิลัสช่วยควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้
  8. ช่วยป้องกันมะเร็ง แลคโตบาซิลัสสามารถจับกับสารก่อมะเร็ง สามารถจับกับโลหะหนัก และกรดน้ำดีซึ่งมีพิษ แลคโตบาซิลัสช่วยยับยั้งกลุ่มแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างสารไนเตรทได้ (สารในเตรทเป็นสารก่อมะเร็งตัวหนึ่ง) และแลคโตบาซิลัสยังช่วยเปลี่ยนสารฟลาโวนอยด์จากพืชให้เป็นสารต้านมะเร็งได้
การใช้นมเปรี้ยวรักษาโรคท้องร่วง ในต่างประเทศมีการใช้นมเปรี้ยว (โยเกิร์ต) รักษาโรคท้องร่วงบ้างแล้ว เช่น การใช้รักษาโรคท้องร่วงในเด็กแต่ลักษณะการใช้เป็นการช่วยเสริมในการรักษา และใช้เฉพาะในกรณีที่มีสาเหตุจากเชื้อโรคธรรมดา ไม่ใช่โรคที่มีการระบาดอย่างรุนแรง ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ยารักษาโดยเฉพาะ สำหรับในลูกสุกรนั้น พบว่าประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ของโรคท้องเสีย มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคที่มีอยู่แล้วในฟาร์ม คือ เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ ที่มีอยู่ในทางเดินอาหารของร่างกาย เมื่อเชื้อเหล่านี้มีปริมาณมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อโรคอื่น ๆ จะทำให้เกิดการเสียสมดุล จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียเกิดขึ้น ซึ่งหลักการในการรักษาคือ การเติมเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์เพิ่มเข้าไปปรับให้เกิดความสมดุล จึงทำให้โอกาสเกิดท้องร่วงลดลงได้
สำหรับในนมเปรี้ยว (โยเกิร์ต) มีเชื้อจุลินทรีย์ที่ทราบกันดีคือ เชื้อ Lactobacillus หรือ อาจมีเชื้อชนิดอื่น ๆ ที่บริษัทนั้น ๆ ได้ผลิตขึ้นมา แต่เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ผลิตนมเปรี้ยวในครั้งนี้ คือ Lactobacillus bulgaricus ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในระบบทางเดินอาหาร มีลักษณะคล้ายกับนมเปรี้ยวที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ต่างกันที่เป็นชนิดรสธรรมชาติ ไม่ต้องผสมผลไม้ หรือธัญพืชอื่น ๆ และไม่พร่องมันเนย รวมทั้งแต่ต้องเป็นนมเปรี้ยวที่ยังมีอายุการใช้งานได้อยู่ ยังไม่หมดอายุ หากมีจำนวนสุกรไม่มากก็สามารถนำไปใช้ได้ทันที(โปรดติดตามตอนต่อไป)
จุลินทรีย์ในโยเกิร์ต (Microbiology of natural yogurt)
หัวเชื้อเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิตโยเกริ์ต ลักษณะที่ต้องการของหัวเชื้อโยเกิร์ตคือ ปลอดจากการปนเปื้อน เจริญได้ดีในส่วนผสมของนมที่ใช้เตรียมโยเกิร์ต ให้กลิ่นรสที่ต้องการ โครงสร้างลักษณะเนื้อดี และต้านทานต่อการเกิด phages และสารปฏิชีวนะ ในการสร้างกลิ่นรส (Flavor) และลักษณะของเนื้อสัมผัส (texure) ต้องใช้หัวเชื้อผสมของ Lactobacillus bulgaricus และเชื้อ Streptococcus thermophilus โดยทั่วไปจะใช้หัวเชื้อทั้งสองชนิดในอัตราส่วนที่เท่ากัน
  • เชื้อ Streptococcus เป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิด diacetyl และสารประกอบที่คล้ายกันซึ่งมีผลต่อกลิ่นรสของครีมเนย (creamy/buttery) ในผลิตภัณฑ์สุดท้าย
  • เชื้อ Streptococci นี้จะช่วยกำจัดออกซิเจนออกจากนมซึ่งถ้าหากเหลืออยู่อาจก่อให้เกิดไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ การเจริญจะดำเนินต่อไปจนกระทั่งความเป็นกรดถึง pH 5.5 จะมีสารอาหารที่เหมาะสม สำหรับการเจริญของเชื้อ Lactobacilli ต่อไป
  • เชื้อ Lactobacillus bulgaricus มีอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญที่ 45 องศาเซลเซียส และยังให้ปริมาณกรดแลคติคที่มากพอที่จะสร้าง acetaldehyde ซึ่งให้กลิ่นรสเฉพาะของโยเกิร์ตได้ ในกรณีของโยเกิร์ตที่มีกลิ่นรสดีมากจะมีปริมาณ acetaldehyde อยู่ 23-41 ppm คิดเป็นสัดส่วนของสารประกอบที่ให้กลิ่น (volatile flavour compound) ถึง 90 % นอกจากนี้แล้วเชื้อ Lactobacilli จะปล่อยกรดอมิโนบางตัวที่มีผลต่อการเจริญของเชื้อ Streptococci อีกด้วย

แหล่งความรู้ที่มาจาก:http://www.baanjomyut.com/

ใส่ความเห็น